"เรวัต" อาสาลงสมัคร นายก อบจ.ภูเก็ต อีกสมัย สานต่องานเก่าให้สำเร็จ ปั้นภูเก็ตให้น่าอยู่และน่าดู

"เรวัต" อาสาลงสมัคร นายก อบจ.ภูเก็ต อีกสมัย

สานต่องานเก่าให้สำเร็จ ปั้นภูเก็ตให้น่าอยู่และน่าดู

“เรวัต อารีรอบ” อาสานำทีม “กลุ่มภูเก็ตหยัดได้” ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต) ชิงชัยต่อเป็นสมัยที่สอง ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ให้คนภูเก็ต “หยัดได้” (เชื่อถือได้) จากจุดแข็ง “ไม่ต้องนับหนึ่งใหม่” สานต่องานเก่าให้สำเร็จ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายปั้นภูเก็ตให้เป็นเมืองน่าอยู่และเป็นเมืองน่าดู พร้อมยกระดับหลากหลายมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข และคุณภาพชีวิต ภายใต้วิสัยทัศน์ “ภูเก็ต ปลอดภัย ทันสมัยด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

ผู้นำทัพอย่าง “เรวัต อารีรอบ” ทำจริง  ไม่ขายฝัน

สำหรับศึกการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ อะไรที่ทำให้ นาย เรวัต อารีรอบ ผู้สมัครนายก อบจ.ภูเก็ต หมายเลข 1 “กลุ่มภูเก็ต หยัดได้” คิดลงสนามเป็นหนสอง คำตอบที่น่าจะเฉลยได้และเห็นความเชื่อมโยงได้อย่างชัดเจน นั่นคือหากเทียบชายผู้นี้เป็น “โปรดักท์”แล้ว ด้วยประสบการณ์ที่เคยเป็นอดีต สส.ภูเก็ต สังกัดพรรคประชาธิปัตย์สองสมัย และเคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนั้นย่อม การันตีได้ว่า นายเรวัต ย่อมจะ “เข้าถึงและเข้าใจ”ความต้องการของประชาชน ชุมชน และภาพรวมของชาวภูเก็ตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในแง่มุมของเศรษฐกิจที่เขาต้องการขับเคลื่อนให้ภูเก็ตเป็นแหล่งเศรษฐกิจทางด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันก็ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนภูเก็ตทั้งทางด้านการศึกษา การแพทย์ “ปลายทาง” เหล่านี้แหละที่ผู้นำทัพอย่างนายเรวัตได้วางยุทธศาสตร์ของภูเก็ตไว้อย่างปรุโปร่งแล้วในการดำรงตำแหน่งนายก อบจ.ในปัจจุบัน เพื่อปูทางให้เป้าประสงค์ของตนเองบรรลุเป้าหมาย และบังเกิดผลงานเชิงประจักษ์ในระยะสี่ปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน  “ทำจริง  ไม่ขายฝัน”

 ขับเคลื่อนผลงานเชิงประจักษ์

ตลอดระยะเวลาสี่ปีของ นายเรวัต อารีรอบ และ “กลุ่มภูเก็ตหยัดได้” นั้นโฟกัสกับยุทธศาสตร์ที่ต้องการปั้นให้ภูเก็ตพร้อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข และคุณภาพชีวิต รวมทั้งตอบโจทย์ทางด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนด้วย โดยเฉพาะการเร่งเครื่องหลังวิกฤติโตวิด-19 คลี่คลาย

ในเบื้องต้น นายเรวัตยอมรับว่า “ในช่วง 2 ปีแรกของการรับตำแหน่งนายก อบจ.ภูเก็ต ในปี 2564 นั้นเป็นช่วงวิกฤติโควิด-19 ต่อเนื่องถึงปี 2565 ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะงักงัน ไม่เว้นแม้แต่ภูเก็ต ทั้งนี้ อบจ.ภูเก็ตได้ดำเนินกลยุทธ์ทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อรับมือกับวิกฤติโควิด-19 อาทิ การจัดตั้งศูนย์ Quarantine โรงพยาบาลสนาม จัดหาวัคซีนให้ชาวกูก็ตอย่างทั่วถึง ฯลฯ”

ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายในช่วงปี 2566 - ปี 2567 อบจ. ภูเก็ตก็เร่งดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนให้กลับมาเป็นปกติสุขโดยเร็ว และเป็นจิ๊กซอว์ที่ นายเรวัต มุ่งมั่นที่จะพิชิตเป้าหมาย เพื่อให้ภูเก็ตเป็น “เมืองน่าอยู่” และเป็น “เมืองน่าดู” นั่นคือ

     ด้านเศรษฐกิจ ในฐานะที่ภูเก็ตสามารถทำรายได้ให้กับประเทศได้สูงเป็นอันดับ 2 ฉะนั้น หลังวิกฤติโควิด-19 อบจ. ภูเก็ตจึงร่วมผลักดันโครงการ Phuket Sandbox ส่งผลให้ภูเก็ตสามารถฟื้นตัวได้เร็ว ขณะเดียวกัน ก็ดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตอย่างต่อเนื่อง เช่น ทำโรดโชว์ ITB Berlin ที่ประเทศเยอรมนีที่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาเที่ยวภูเก็ตดังเดิม นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมกระตุ้นการใช้จ่ายภายในจังหวัคภูเก็ต เช่น การจัดงานหรอยรอยริมเล ทั่วเกาะกูเก็ต พร้อมผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดตั้ง TCDC ศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ จังหวัดภูเก็ต 

      ด้านสาธารณสุข ผลงานที่โดดเด่นของนายเรวัต นั่นคือการถ่ายโอน รพ.สต. 20 แห่งและสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ต.ฉลอง มาอยู่ในการดูแลเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมี “อยู่ที่ไหนก็ใกล้หมอ” โครงการเชิงรุกที่จัดทีมหมอและพยาบาลจาก รพ.สต. ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองโรคในชุมชน พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลโรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต และมอบเงินอุดหนุนโครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต จำนวน 30 ล้านบาท เพื่อจัดหาครุภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์สำหรับการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจให้ชาวภูเก็ต และชาวต่างชาติมีภาวะโรคหัวใจที่เข้าพักในจังหวัดภูเก็ตที่ได้รับการรักษาอย่างครอบคลุมและทันเวลา 

ด้านการศึกษา อบจ.ภูเก็ต มุ่งเน้นพัฒนาเยาวชนให้เติบโตไปเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) พร้อมทั้งพัฒนาโรงเรียนในสังกัด อบจ.ภูเก็ตทั้ง 5 แห่งให้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย - ม.6 เพื่อลดความเหลือมล้ำทางการศึกษา โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ทั้งด้านวิชาการ สังคม และทักษะชีวิต พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพครูให้เป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กตามวัยสำหรับโรงเรียนในสังกัด อบจ.ภูเก็ต พร้อมสนับสนุนงบประมาณให้แก่โรงเรียนสังกัด สพฐ. เพื่อพัฒนาอาคารสถานที่ จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ สำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ ยกระดับมาตรฐานการศึกษาของจังหวัดภูเก็ตในภาพรวม

ด้านคุณภาพชีวิต อบจ.ภูเก็ตได้พัฒนาสวนสาธารณะแห่งใหม่ โดยพัฒนาพื้นที่เรือนจำเก่าจังหวัด

        ในเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งมีแผนพัฒนาพื้นที่ทุ่งถลางชนะศึก อ.ถลาง ซึ่งอยู่ระหว่างการออกแบบ จะแล้วเสร็จในเดือน ก.พ.2568 ขณะที่สวนธารณะลานกีฬากะทู้ โรงเหล้าเก่า ซึ่งเข้าไปพัฒนาจนถึงเฟสที่ 4 แล้ว เพื่อเป็นเพิ่มพื้นที่สีเขียว และเพิ่มพื้นที่ออกกำลังกายให้ชาวภูเก็ต รวมทั้งรับมือกับ “การแก้ไขปัญหาจราจร” ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ชาวภูเก็ตกำลังเผชิญอยู่ ณ ตอนนี้ ซึ่งเป็นความเดือดร้อนเร่งด่วนของชาวภูเก็ต โดยการนำรถบัส EV รถไฟฟ้าพลังงานสะอาดช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมมาให้บริการประชาชน ให้เด็กนักเรียน นักศึกษา ประชาชนคนทำงาน ผู้สูงอายุ หรือนักท่องเที่ยวสามารถใช้ขนสาธารณะณะได้สะดวกยิ่งขึ้น

           นอกจากนี้ นายเรวัต อารีรอบ ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในเรื่องของพิบัติว่า  “เพื่อป้องกันภัยพิบัติร้ายแรงในภูเก็ต อาทิ น้ำท่วม ดินถล่ม ชาวภูเก็ตมั่นใจได้ว่า จะต้องเห็นผม และทีมงาน อบจ.ภูเก็ต เข้าไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนอย่างทันท่วงที เพราะนี่คือการกิจหลักที่ อบจ.ภูเก็ตจัดตั้งกองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นมา นอกจากนี้ ยังมีแผนจัดหาเรือดับเพลิงกู้ภัย เรือตรวจการณ์ เครื่องจักรกลหนัก เครื่องสูบน้ำ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติทั้งทางบกและทางน้ำ อย่างล่าสุดที่เกิดเหตุน้ำท่วมหลายพื้นที่ในจังหวัดภูเก็ต เครื่องสูบน้ำของ อบจ.ภูเก็ตได้กระจายไปยังจุดเสี่ยงน้ำท่วมทั่วจังหวัดกูเก็ต เพื่อให้มีส่วนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชน เป็นที่พึ่งที่ “หยัดได้”ของชาวกูเก็ตตลอดมา ”


 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พิธีเททองหล่อหลวงพ่อพระนาคปรก ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาส

สมาชิก TFOPTA นำโดย "ฉลอม สงล่า ประธานฯ ร่วมประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี 2567 ณ จังหวัดพิษณุโลก

“โรงเรียนอำนวยศิลป์” เปิดตัว MV “72 พรรษา สดุดีจอมราชา”